



เคลือบฟลูออไรด์ จำเป็นหรือไม่


ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุต่ำ : ไม่จำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์ แนะนำตรวจฟันทุก 6-12 เดือน
ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุปานกลาง : ควรตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุก 6 เดือน
ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง : ควรตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ทุก 3 เดือน
....................
การประเมินความเสี่ยงฟันผุของเด็ก ทำเป็นรายบุคคล ต้องตรวจฟันและพูดคุยถึงรายละเอียดพฤติกรรมต่าง ๆ
ยกตัวอย่าง
เด็กความเสี่ยงฟันผุต่ำ : ไม่มีฟันผุเริ่มแรก ไม่มีฟันผุเป็นรู แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน พ่อแม่แปรงฟันได้สะอาดดี ฯลฯ
เด็กความเสี่ยงฟันผุปานกลาง : เด็กที่ตรวจพบคราบจุลินทรีย์บนฟัน เด็กที่ใส่เครื่องมือจัดฟัน ฯลฯ
เด็กความเสี่ยงฟันผุสูง : เด็กที่กินขนมหรือน้ำหวานระหว่างมื้ออาหารมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เด็กที่นอนหลับคาขวด เด็กที่มีฟันผุเริ่มแรก เด็กที่มีฟันผุ เด็กที่ผ่านการอุดฟันมาแล้ว ฯลฯ
....................
ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยงฟันผุ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของทันตแพทย์ และเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล มีปัจจัยอื่น ๆ มากมายที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณา ... สิ่งที่หมอยกตัวอย่างนั้น นำมาอ้างอิงไม่ได้ทั้งหมดนะคะ
....................
สิ่งที่ควรทำและทำได้ในเด็กทุกคนคือ พาลูกไปพบหมอฟันตั้งแต่ซี่แรก หมอฟันจะได้ประเมินความเสี่ยงฟันผุ และพิจารณาเป็นรายบุคคลว่าควรเคลือบฟลูออไรด์หรือไม่ค่ะ
Cr: หมอตุ๊กตา เพจฟันน้ำนม 💕









