ลูกน้อยติดดูดนิ้วโป้งจะทำให้ฟันเกจริงหรือไม่?

March 21, 2022

มารู้จักการรักษาฟันที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย

ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
ตรวจสุขภาพฟันเด็กโดยหมอฟันเด็ก คือ การตรวจสภาพของฟัน เหงือก ลิ้น เนื้อเยื่อ ภายในช่องปาก และสภาวะทันตสุขภาพโดยรวม ซึ่งหมอฟันเด็ก จะสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของเด็กๆแต่ละคนได้ รวมถึงจะสามารถ ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม โดยทั่วไปหมอฟันเด็กจะแนะนำให้มาตรวจสุขภาพฟัน ในทุกๆ 6 เดือนแต่ในกรณีที่เด็กมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง หมอฟันเด็กอาจทำการนัดหมายมาตรวจสุขภาพฟันบ่อยขึ้นเช่น ทุกๆ3เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันผุหรือเหงือกอักเสบที่ลุกลามจนทำการรักษาไม่ได้

เคลือบฟลูออไรด์
คือการใช้ฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงในรูปแบบของเจลหรือฟลูออไรด์รูปแบบของวานิชมาเคลือบไว้ที่ผิวฟัน โดยหมอฟันเด็กจะทำการขัดฟันหรือ แปรงฟันให้สะอาด เพื่อช่วยให้ฟลูออไรด์สามารถสัมผัสกับผิวฟันได้อย่างเต็มที่ซึ่งการเคลือบฟลูออไรด์เป็นประจำ ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ จะช่วยป้องกันการเกิดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขูดหินปูน
คือการขจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่บริเวณฟันและซอกฟันให้หลุดออกโดยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพฟัน และช่องปากที่แข็งแรงและช่วยป้องกันโรคเหงือกและฟันที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสะสมของคราบหินปูนในปริมาณมากๆโดยปกติแล้ว หมอฟันเด็กจะแนะนำให้ทำการขูดหินปูนสำหรับกรณีเด็กเล็กที่มีคราบหินปูนสะสม ทุก 6 เดือน

อุดฟันเด็ก
คือการบูรณะหรือการซ่อมแซมเนื้อฟันที่มีรอยผุโดยหมอฟันเด็กเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยฟันที่สามารถอุดได้ส่วนใหญ่จะเป็นฟันที่ยังไม่มีอาการปวดหรือบวมโดยส่วนมากแล้วฟันน้ำนมจะมีโอกาสผุง่ายกว่าฟันแท้ เพราะเนื้อฟันน้ำนมมีความหนาน้อยกว่าฟันแท้เกือบครึ่งแต่ทั้งนี้ในเด็กที่มีอายุประมาณ 6-7 ปี จะพบว่าฟันกรามแท้ซี่ในสุด จะมีโอกาสผุสูงเช่นกัน สำหรับการอุดฟันเด็กนั้น ฟันซี่ไหนเหมาะสมกับวัสดุอุดฟันประเภทใด จะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหมอฟันเด็ก

ถอนฟันน้ำนม
คือกระบวนการรักษาที่หมอฟันเด็กจะวางแผนการรักษาเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับกรณีที่ไม่สามารถเก็บฟันน้ำนมซี่นั้นๆไว้ได้ เช่น ฟันที่ผุมากๆจนถึงโพรงประสาทรากฟัน และไม่สามารถ “รักษารากฟันน้ำนม” เพื่อเก็บฟันซี่นั้นไว้ได้หรือมีความจำเป็นต้องถอนออก เช่น กรณีที่ฟันน้ำนมยังไม่ยอมหลุดออกและฟันแท้เริ่มขึ้นมาแล้ว ทำให้ไม่มีที่เพียงพอให้ฟันแท้ขึ้นมาได้อย่างปกติสำหรับคำถามที่พบบ่อยในการทำฟันเด็กคือ ฟันน้ำนมซี่นั้นๆ สมควรจะถอนออกเพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในช่องปากได้หรือยัง ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ทันตแพทย์เด็กจะเป็นผู้พิจารณาว่าฟันซี่นั้นๆ ยังสามารถเก็บอยู่ในช่องปากได้หรือไม่

เคลือบปิดหลุมร่องฟัน
คือการผนึกหลุมและร่องของฟันที่ลึกด้วยเรซินเพื่อทำให้ลักษณะของหลุมร่องที่ลึกนั้นตื้นขึ้น ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดฟันซี่นั้นๆปกติแล้ว หมอฟันเด็กจะแนะนำให้ทำในฟันกรามแท้ซี่แรก (firstmolar) ที่ขึ้นมาในช่องปากตอนอายุประมาณ 6 ขวบเนื่องจากผู้ปกครองมักไม่ทราบว่าฟันที่ขึ้นนั้นเป็นฟันแท้(เนื่องจากไม่ได้มีฟันน้ำนมซี่ไหนหลุดไป) และเด็กมักจะทำความสะอาดไม่ถึง

รักษารากฟันน้ำนม
คือการรักษาทางทันตกรรมเด็กสำหรับในกรณีที่ฟันน้ำนมมีการผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้หมอฟันเด็กไม่สามารถทำการรักษาได้ โดยวิธีการอุดฟันแบบปกติเนื่องจากเชื้อโรคได้ลุกลามเข้าไปสู่ส่วนของโพรงรากฟันแล้ว

ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม
คือเครื่องมือที่ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันข้างเคียงของฟันที่ถูกถอนไปล้มลงมาในช่องว่างที่เกิดจากการถอนฟัน เนื่องจากฟันน้ำนมมีหน้าที่เป็นตัวกันที่เพื่อให้ฟันแท้สามารถขึ้นมาในช่องปากเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การไม่ใส่เครื่องมือกันฟันล้มหลังถอนฟันอาจส่งผลให้ฟันแท้ที่ขึ้นมาไม่ถูกตำแหน่ง หรือขึ้นไม่ได้และเกิดเป็นฟันคุดในที่สุด


ทำฟันเด็กพิเศษ

คือการให้การรักษาทางทันตกรรมเฉพาะทางสำหรับเด็กพิเศษซึ่งจะมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการให้การรักษาทางทันตกรรมเด็กทั่วๆไป ทั้งนี้เนื่องจากเด็กพิเศษคือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษในด้านต่างๆ เช่นต้องการความช่วยเหลือในการเรียนรู้(เช่น เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน) หรือ ต้องการความช่วยเหลือในการเข้าสังคม (เช่นเด็กที่มีภาวะออทิสติก) ซึ่งเด็กเหล่านี้ จะต้องการความพิเศษในการดูแล เรื่องการทำฟันก็เช่นเดียวกันเนื่องจากหมอฟันทั่วๆไปอาจไม่มีวิธีบริหารจัดการให้เด็กพิเศษเหล่านี้ยอมรับการทำฟันได้แม้กระทั่งหมอฟันเด็กเองก็อาจจะไม่สามารถใช้วิธีปกติในการทำฟันเด็กกลุ่มนี้ได้

สนใจ คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ มีบริการ ขูดหินปูน รักษารากฟัน เชียงใหม่
ติดต่อมาได้ที่ https://www.dentalworldchiangmai.com/contactus-th.html

สนใจ ขูดหินปูน เชียงใหม่ ติดต่อได้ที่ คลินิกจัดฟัน เชียงใหม่
Facebook : dentalworldchiangmai
Phone : 053-209-100
Line : @pkf1109x

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

© Dental World​ All right reserved